PIM

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

จักรพรรดิ์ปูยี



เมื่อได้กล่าวถึงพระนางซูสีไทเฮาแล้ว  บุคคลอีกคนที่ถ้าไม่กล่าวต่อมาไม่ได้ก็คือ

จักรพรรดิ์ปูยี

ภาพองค์ชายชุน - ปูยี ยืนอยู่ และน้องชาย  ถือว่าเป็นภาพเดียวที่เห็นปูยีก่อนเป็นจักรพรรดิ์


 
สมเด็จพระจักรพรรดิ์ปูยี (Puyi) ทรงมีเชื้อสายแมนจู  
มีช่อเต็มๆว่า อ้ายซินเจียหลอ ปูยี หรือ ออกเสียงว่า อ้ายซิน เจวี๋ยโหล ผู่อี๋ (Aisin-Gioro Puyi)   
เกิดวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 1906 เป็นลูกขององค์ชายชุน

 ในปี 1908 ปูยี ถูกเรียกตัวเข้าวังต้องห้าม ซูสีไทเฮาตั้งให้เขาเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์ชิง หรือ แมนจู  และใช้ชื่อรัชสมัยว่า ซวนถง ในตอนนั้นปูยี มีอายุได้เพียง 2 ปี

              
 เรดินัลด์ จอห์นสตัน

      
ในปี 1912 การปฏิวัติซินไฮ่  โดย นายแพทย์ ซุน ยัด เซ็น สำเร็จ ปูยี ต้องสละราชบังลังก์  
ตอนนั้นเขามีอายุเพียง 6 ขวบ 
แต่ยังอยู่ในวังต้องห้ามปูยีได้เริ่มเรียนภาษาอังกฤษกับ เรจินัลด์ จอห์นสตัน ในปี 1919 
โดยเดิม จอห์นสตัน ไม่ได้เป็นครู
 แต่เป็นบุคคลที่ทางอังกฤษส่งมาเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลอังกฤษกับปูยี

จอห์นสตัน  ค่อนข้างมีอิทธิพลต่อความคิด ของ ปูยี  และยังเสนอว่า ปูยี จำเป็นต้องสวมแว่น  
กฎในราชสำนักจีนยังไม่เคยมีฮ่องเต้ฉลองพระเนตรสักองค์เดียว  พระองค์จึงเป็นฮ่องเต้พระองค์แรกและพระองค์สุดท้ายของจีนที่ทรงฉลองพระเนตร

ปูยี ได้ขอให้ จอห์นสตัน ช่วยตั้งชื่อเขาเป็นภาษาอังกฤษ จอห์นสตันได้ให้รายชื่อของกษัตริย์อังกฤษ
แก่เขา ปูยีเลือกชื่อ เฮนรี่ มาเป็นชื่อของตน

      
   ภาพ วานจง ฮองเฮา                    ภาพ เหวินซิ่ว สนมเอก

      เมื่ออายุ 16 ปี ปูยีได้แต่งงานกับ วานจง และ เหวินซิ่ว โดย วานจง ได้เป็น ฮองเฮา และ เหวินซิ่ว ได้เป็นสนมเอก เล่ากันว่าในครั้งแรกปูยีได้เลือก เหวินซิ่ว เป็นฮองเฮา แต่ที่ปรึกษาของปูยี เห็นว่า
 เหวินซิ่ว อายุเพียง 13 ปียังเด็กเกินไปจึงบังคับให้เลือก วานจง อายุ 17 ปี เป็นฮองเฮา แล้วให้เหวินซิ่วเป็นสนมเอก (บางข้อมูลว่า เป็นเพราะ ฮองเฮาวานจง เป็นเด็กของอดีตสนมของจักรพรรดิองค์ก่อนที่มีอิทธิพลต่อราชสำนัก จึงจำเป็นต้องเลือก)

ตลอดระยะเวลาที่ทรงเป็นพระจักรพรรดิ์และประทับอยู่ในพระราชวัง ทรงมีพระราชปณิธาณที่โปรดจะเสด็จออกนอกเขตพระราชฐานตลอดเวลา ถึงขนาดทรงปีนกำแพงวัง พระองค์หวังจะเสด็จหนีออกจากพระราชวังต้องห้าม 


จนกระทั่งในปี 1924 เฟิงยู่เสียง ขับราชสำนักแมนจูออกจากวังต้องห้าม  นั่นคือครั้งแรกที่พระองค์ได้ออกจากวังต้องห้าม  รวมแล้วพระองค์อยู่ในวังถึง 16 ปีเต็ม   ปูยีได้นั่งลีมูซีนไปที่บ้านองค์ชายชุน ผู้เป็นบิดา ในครั้งนั้นคนของ เฟิงยู่เสียน มาเชคแฮนด์กับปูยี และเรียกเขาว่า นายปูยี ซึ่งนั้นเป็นครั้งแรกที่มีคนเรียกเขาเช่นนี้ ปูยี ได้กล่าวถึงความรู้สึกในครั้งนั้นว่าช่วงที่เป็นจักรพรรดิเขาไม่มีอิสรภาพเลย แต่ตอนนี้เขาพบกับอิสรภาพของเขาแล้ว  นับเป็นการสิ้นสุดของราชวงศ์จีน 4000 ปี 
และระบอบสมบูรญาสิทธิราชย์ ในประเทศจีน

เฮนรี่ และอลิซาเบท

จากนั้นปูยีก็พาครอบครัวไปขอความช่วยเหลือที่สถานทูตญี่ปุ่นในกรุงปักกิ่งและเขาได้ย้ายครอบครัวไปอยู่ที่เทียนสิน หรือ เทียนจิน  เขตอิทธิพลของต่างชาติ  ในช่วงนั้นเองเขากลายเป็นหนุ่มสังคมจัด และเป็นครั้งแรกที่เขาได้ใช้ชื่อ เฮนรี่  ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับวานจง หรือ อลิซาเบท เริ่มเย็นชาต่อกัน ส่วนความสัมพันธ์กับเหวินซิ่วนั้น ทั้งคู่หย่าขาดจากกันในปี 1927 โดยเหวินซิ่ว 
กลับไปอยู่ที่ปักกิ่งตลอดชีวิต และเธอไม่ได้แต่งงานใหม่เลย

        
ปี 1928 เจียงไคเช็ค ขุดสุสานของซูสีไทเฮาทำลายพระศพของพระนาง และขนสมบัติล้ำค่าไปจนเกลี้ยง ซ้ำยังเอาไข่มุกของพระนางไปประดับรองเท้าให้กับ ซ่งเหม่ยหลิง ภรรยาใหม่ เรื่องนี้ทำให้ปูยีโกรธมาก เพราะไม่เพียงแต่ลบหลู่บรรพชน ซ้ำยังเป็นการทำลายฮวงจุ้ย 
ตามความเชื่อของชาวแมนจูอีกด้วย ปูยีจึงตัดสินใจเข้าร่วมกับญี่ปุ่น


ทรงชุดกษัตริย์ แมนจูกัว

ปี 1931 ญี่ปุ่นได้ยึดแมนจูเรียและสถาปนาประเทศแมนจูกัวขึ้น ปี 1934 ปูยีได้เป็นจักรพรรดิแห่งแมนจูกัว เปลี่ยนชื่อเป็น คังเต๋อ ซึ่งก็เป็นเพียงจักรพรรดิหุ่นเชิดของญี่ปุ่น ในระหว่างนั้น วานจง 
ก็เริ่มมีสัมพันธ์กับองครักษ์ และติดฝิ่น


โยชิโกะ ซึ่งถูกกล่าวหาในภายหลังว่า เป็นสปายให้ญี่ปุ่น   และเป็นผู้นำฝิ่นเข้ามาสู่ราชสำนัก 
รวมทั้งสาวสูงศักดิ์ ชาวญี่ปุ่นที่ทางการญี่ปุ่นส่งมาให้แต่งงานกับน้องชายของปูยี  หลังสงครามก็ถูกตั้งข้อหาว่าเป็นสปายให้ญี่ปุ่น

ปูยี หรือ คั๋งเต๋อ   ต้องอยู่ในการบังคับบัญชาของญี่ปุ่น เพื่อใช้เขาให้นำทรัพยากรมาให้ ผลิตอะไรต่างๆในส่วนของอุตสาหกรรมป้อนไปทางญี่ปุ่น  เพื่อญี่ปุ่นจะได้พัฒนาประเทศให้ทัดเทียมกับตะวันตก  ภาษาญี่ปุ่นก็กลายมาเป็นภาษาราชการด้วยในประเทศนี้ ลึกๆแล้วญี่ปุ่นคงจะอยากยึดประเทศนี้แน่ๆ เพียงแต่รอวันเขี่ยปูยี่ทิ้งแค่นั้น
 และอีกสิ่งที่บอกก็คือญี่ปุ่นได้จัดให้ศาสนาชินโตเป็นศาสนาประจำชาตินี้ด้วย

   
ถังอี้หลิง
ในปี 1939 ปูยี ก็พบรักกับนักเรียนสาวชาวญี่ปุ่นวัย 17 ปี ปูยีตั้งชื่อจีนให้เธอว่า ถังอี้หลิง และได้แต่งงานกัน บางข้อมูลว่าเธอผู้นี้เป็นคนที่ญี่ปุ่นส่งมา แต่ต่อมาไม่นานอี้หลิงก็เสียชีวิตด้วยโรครากสาดน้อย มีแหล่งข้อมูลบางแห่งระบุสาเหตุการเสียชีวิตของเธอว่าเป็นเพราะถูกทางญี่ปุ่นวางยาพิษ

  
อี้จิน

ต่อมาทางญี่ปุ่นก็เสนอผู้หญิงคนใหม่ให้เป็นสนมอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งปูยีก็สุ่มเลือกขึ้นมา 1คน นั่นก็คือ อี้จิน เด็กสาววัย 14 ปี ซึ่ง อี้จิน ก็แต่งงานเป็นภรรยาคนที่ 4 ของปูยี
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แมนจูกัวก็ได้เป็นฐานทัพที่จะเผชิญหน้ากับทหารรัสเซีย ในตอนหลังญี่ปุ่นก็ได้อ่อนแอลง เกิดการประท้วงกลุ่มจลาจลที่จะขับไล่รัฐบาลญี่ปุ่นออกไปจากแผ่นดินแมนจูเรียรวมทั้งจักรพรรดิ์ปูยี่หุ่นเชิดนี้ด้วย

ปี 1945 รัสเซียบุกแมนจูเรีย ปูยี พา น้องชาย หลาน 3 คน น้องเขย 2 คน หมอ 1 คน และคนใช้ 1 คน เตรียมบินไปที่ญี่ปุ่น แต่ถูกรัสเซียจับกุมได้เสียก่อน หลังจากนั้น ปูยี ก็ไม่ได้เจอ วานจง อีกเลย เธอถูกทิ้งไว้ที่สถานบำบัดผู้ติดฝิ่นที่ฉางชุน และเสียชีวิตที่นั่นเมื่ออายุ 40 ปี ส่วนอี้จิน เธออยู่ที่ฉางชุน ทำงานในห้องสมุดและแต่งงานใหม่ ส่วนเชื้อพระวงศ์คนอื่นๆ เดินทางโดยรถไฟก็โดนรัสเซียจับกุมกัน

ปี 1950 ปูยี ถูกส่งตัวกลับมาที่จีนถูกสอบสวนและจำคุก จริงๆเรียกว่าคุกก็ไม่ค่อยถูกนัก แต่ เป็นโรงเรียนที่รัฐบาลจีนสร้างขึ้นมาเพื่อจัดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของคน  คนที่มาเข้าค่ายนี้ก็เหมือนกันทุกคน  จะต้องเรียนรู้ใหม่ทุกอย่างแม้ว่ามันจะไม่จริงก็ตาม ปูยี่เองก็เหมือนกัน เขาก็ต้องยอมรับสถานะของเขาที่เป็นคนธรรมดาๆคนหนึ่งที่เป็นพลเมืองจีนในยุคนั้น
เขาได้รับการปล่อยตัว ในเดือน ธันวาคม ปี1959 รวมเวลา 9 ปี และอาศัยอยู่กับครอบครัวของเขาที่บ้านของบิดาของเขาในกรุงปักกิ่ง


ภาพปูยี และ หลี่ซู่เสียน

ดูเหมือนว่าเขาจะได้รับอิสระแต่แท้ที่จริงแล้วเขายังมีสภาพเป็นหุ่นเชิดของรัฐบาลจีน เขาถูกจัดหน้าที่ให้เป็นคนทำสวนของสถาบันพฤกษศาสตร์ เพื่อสร้างภาพให้กับคอมมิวนิสต์ ต่อมาในปี 1962 เขาแต่งงานใหม่กับ หลี่ซู่เสียน นางพยาบาลและสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์วัย 37 ปี

  
ภาพปูยี ขณะทำงานเป็นคนสวน
ในปี 1967 ปูยี เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งที่ไต นับอายุได้เพียง 61 ปี 
นั่นอาจจะเป็นการได้รับอิสระอย่างแท้จริงที่เขาต้องการ

  
ปูยีในวัยชรา

ซูสีไทเฮา


ซูสีไทเฮา 


  
      ภาพพระนางซูสีไทเฮาพระนางซูสีไทเฮา เกิดวันที่ 29 พฤศจิกายน 1835 เดิมชื่อ เยโฮนาลา ครอบครัวเป็นคนชั้นกลางชาวแมนจู บิดาเป็นขุนนางท้องถิ่นเล็กๆ (บางแหล่งว่า เป็นทหารรักษาพระราชวังต้องห้าม) เมื่ออายุ 17 ปี ได้ถวายตัวเป็นนางสนมของ ฮ่องเต้เสียนเฟิง ต่อมานางตั้งครรภ์และได้ให้พระโอรส เหตุการณ์นี้ทำให้นางได้เลื่อนขั้นเป็น กุ้ยเฟย (สนมชั้นสูงสุด)
ภาพวาดซูสีไทเฮา เมื่อครั้งเป็น พระอัครชายาอี

  
ฮ่องเต้ เสียนเฟิง

เนื่องจากฮ่องเต้เสียนเฟิง มีอายุสั้นเพียง 30 ปี สวรรคตไปเมื่อปี 1861 (2404 )  พระโอรสเพียงพระองค์เดียวที่กำเนิดโดยสนมกุ้ยเฟย ( ซูสีไทเฮา )จึงได้ขึ้นครองราชย์สืบมา ทรงพระนาม ถงจือตามประเพณีของราชวงศ์ชิง คณะผู้สำเร็จราชการต้องเฉลิมพระนามแด่พระราชินี และนางเยโฮนาลาว่าเป็นพระราชินีหม้าย (Empress Dowager) นางเยโฮนาลาได้พระนามว่า ""ซูสีแปลว่า พระมารดาแห่งความเจริญรุ่งเรือง""

คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระนามาภิไธยสมเด็จพระจักรพรรดิได้ประกาศเฉลิมพระนามาภิไธยของพระชายาทั้งสอง
โดยสมเด็จพระจักรพรรดินีเจินในพระชนมายุยี่สิบเจ็ดพรรษาเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีฉืออัน พระพันปีหลวง (จีน. 慈安皇太后; พินยิน. Cí’ān Tàihòu; จีนกลาง. ฉืออันไท้โฮ้ว; รู้จักในไทย. ซูอันไทเฮา)

ฉืออันไทเฮา
และซูสีไทเฮาในตำแหน่งพระอัครชายา พระชันษายี่สิบห้าชันษา เป็น สมเด็จพระจักรพรรดินีฉือสี พระพันปีหลวง (จีน. 慈禧太后; พินยิน. Cíxǐ Tàihòu; จีนกลาง. ฉือสีไท้โฮ้ว)


ซูสีไทเฮา

ว่าราชการหลังม่าน จนถึงปี 1873 ที่ฮ่องเต้เติบโตขึ้นจนสามารถว่าราชการเองได้  ที่โดยฮ่องเต้ถงจื้อเป็นคนเสเพลและโปรดการเที่ยวซ่องโสเภณี  และว่ากันว่าพระองค์สวรรคตด้วยโรคซิฟิลิต  เมื่อปี2418 (1875)

ฮ่องเต้ถงจื้อ

ซูสีไทเฮาฝ่าฝืนกฎการสืบสันตติวงศ์โดยนำหลายชาย ( ลูกน้องสาว) นามกวางซวี หรือ กวางสู อายุเพียง 3 ขวบ

 ขึ้นมาเป็นจักรพรรดิองค์ต่อไป

 ฮองเฮาทั้ง 2 พระองค์ก็ยังคงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระจักรพรรดิเช่นเดิม จนเมื่อฉืออันไทเฮาสิ้นพระชนม์ในค.ศ. 1881 ( ในหนังว่าพระนางซูสี เป็นผู้วางยา ) ซูสีไทเฮาจึงได้ขึ้นมีอำนาจเต็มเหนือแผ่นดินจีน 

  
ฮ่องเต้กวางสู
เมื่อฮ่องเต้กวางสู  ถึงพระชนมายุที่สามารถขึ้นมีพระราชอำนาจได้ พระนางก็วางมือจากการบริหารราชสำนัก ถึงกระนั้นก็ยังส่งสายลับของพระนางเข้าไปเป็นเครือข่ายในราชสำนักอยู่ดี  ฮ่องเต้กวางสู ซึ่งเป็นฮ่องเต้หุ่นเชิดของพระนางซูสีไทเฮา ฮ่องเต้กวางสูเมื่อเติบใหญ่  พยายามจะปฏิรูปราชการให้ทันสมัย  ( การปฏิรูป 100 วัน )  แต่ไปกระทบกับอำนาจของขุนนางเก่า  ทำให้ พวกขุนนางไปเข้ากับฝ่ายของซูสีไทเฮา ซึ่งอนุรักษ์นิยม การแข็งกร้าวเพื่อต่อต้านอำนาจของซูสีไทเฮา แต่ล้มเหลวในที่สุด  ฮ่องเต้ กวางสูถูกจองจำในตำหนักฤดูร้อน  และพวกปฏิรูปถูกจับ ประหารถึง 6 คน

ในปีต่อมา ซูสีไทเฮาได้หนุนหลังกลุ่มจลาจลหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มที่ต่อต้านการปฏิรูปและต่อต้านชาวต่างชาติ ต่อมา กองกำลังทหารต่างชาติได้บุกเข้าพระราชวังต้องห้ามและยึดกรุงปักกิ่งไว้ได้ ทำให้ซูสีไทเฮาต้องยอมรับข้อตกลงสงบศึก


หากใครได้ไปชมพระราชวังฤดูร้อนของซูสีไทเฮาที่ประเทศจีน  ก็จะได้ชมห้องขังฮ่องเต้ กวางสูด้วย




ว่ากันว่า ต่อมา พระนางก็วางยาปลงพระชนม์ฮ่องเต้กวางสู ก่อนที่พระนางจะเสียชีวิตได้ไม่นานนัก

อย่างไรก็ตามนักประวัติศาสตร์พิจารณาแล้วว่าพระนางทรงตัดสินพระทัยอย่างดีที่สุดแล้วที่จะจัดการกับภาวะยากลำบากต่างๆ ในยุคนั้น แต่ด้วยความคิดอนุรักษ์นิยมของพระนางและชาติตะวันตกที่เข้ามามีอิทธิพลเหนือแผ่นดินจีนมากเรื่อยๆ ทำให้ราชสำนักและประเทศจีนในครั้งนั้นด้อยเรื่องเทคโนโลยีจนถูกต่างชาติครอบงำในที่สุด

แม้ว่าเราจะค่อนข้างชินกับบทบาทของพระนางในภาพยนตร์ที่มักจะกำจัดผู้ที่ไม่เห็นด้วยอย่างเด็ดขาด และโหดเหี้ยม  แต่ในด้านดีของพระนางก็ยังพอมีอยู่บ้าง
  
 มีผู้กล่าวไว้ว่า พระราชอำนาจของพระนางซูสีไทเฮามีเทียบเท่ากับสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรียในสมัยเดียวกัน อย่างไรก็ตาม นอกจากด้านการเมืองแล้ว พระนางทรงสร้างคุณประโยชน์ให้เป็นที่จดจำ
 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านศิลปวัฒนธรรม ที่นางเป็นผู้อุปถัมภ์ค้ำชูงิ้ว ถึงขนาดในพระราชวังของนางมีโรงงิ้วที่ดี และกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในปัจจุบัน รวมทั้งในสมัยของซูสีไทเฮา นางยังได้ก่อตั้งสวนสัตว์วิทยาปักกิ่งในปี 1906 ซึ่งต่อมาสวนสัตว์วิทยาแห่งนี้ กลายเป็นสถาบันแรกที่ได้ทำการขยายพันธุ์หมีแพนด้าสำเร็จ

พระนางนำตัว ปูยีเข้าวัง เพื่อครองราชย์เป็นฮ่องเต้องค์ต่อมา นาม ซวนถง

ฮ่องเต้ซวนถง (ปูยี)

ฮ่องเต้ซวนถงครองราชย์ได้ไม่นาน ซูสีไทเฮาก็สิ้นพระชนม์ลงในวันที่ 15 พฤศจิกายน
 1908     รวมพระชนพรรษา  73 ปี


พระนางซูสีไทเฮา สามารถก้าวจากสามัญชน สู่การปกครองจีนหลังม่านมาถึง 3  ฮ่องเต้  ฮ่องเต้ถงจื้อ, ฮ่องเต้กวงสู และฮ่องเต้ซวนถง(ปูยี) นับว่าพระนางเป็นสตรีที่ทรงอิทธิพลสูงสุดของประเทศจีนมาอย่างยาวนาน ( 1861-1908 )   ในยุคสมัยของพระนาง ต้องต่อสู้กับการรุกรานของชาติตะวันตก  และเกิดสงครามฝิ่น  และการกบฏ  กลุ่มต่อต้านมากมาย  
นับว่ายากลำบากอย่างยิ่ง  

และนี่คือประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของสตรีจีน ที่สามารถขึ้นได้ถึงจุดสูงสุดของการเมืองแดนมังกร  และเธอคือ หงษ์เหนือมังกร จริง ๆ





บุคคลที่โลกไม่ลืม


ขึ้นชื่่อว่าบุคคลที่โลกไม่ลืม  ไม่ว่าใครก็ต้องมีวีรกรรม  เพียงแต่สิ่งที่เขากระทำนั้น  จะดีหรือร้ายอย่างไร  เหตุใดคนทั่วโลกต้องจดจำชื่อเขาไว้  อันนี้คงจะได้รู้กัน