PIM

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ซูสีไทเฮา


ซูสีไทเฮา 


  
      ภาพพระนางซูสีไทเฮาพระนางซูสีไทเฮา เกิดวันที่ 29 พฤศจิกายน 1835 เดิมชื่อ เยโฮนาลา ครอบครัวเป็นคนชั้นกลางชาวแมนจู บิดาเป็นขุนนางท้องถิ่นเล็กๆ (บางแหล่งว่า เป็นทหารรักษาพระราชวังต้องห้าม) เมื่ออายุ 17 ปี ได้ถวายตัวเป็นนางสนมของ ฮ่องเต้เสียนเฟิง ต่อมานางตั้งครรภ์และได้ให้พระโอรส เหตุการณ์นี้ทำให้นางได้เลื่อนขั้นเป็น กุ้ยเฟย (สนมชั้นสูงสุด)
ภาพวาดซูสีไทเฮา เมื่อครั้งเป็น พระอัครชายาอี

  
ฮ่องเต้ เสียนเฟิง

เนื่องจากฮ่องเต้เสียนเฟิง มีอายุสั้นเพียง 30 ปี สวรรคตไปเมื่อปี 1861 (2404 )  พระโอรสเพียงพระองค์เดียวที่กำเนิดโดยสนมกุ้ยเฟย ( ซูสีไทเฮา )จึงได้ขึ้นครองราชย์สืบมา ทรงพระนาม ถงจือตามประเพณีของราชวงศ์ชิง คณะผู้สำเร็จราชการต้องเฉลิมพระนามแด่พระราชินี และนางเยโฮนาลาว่าเป็นพระราชินีหม้าย (Empress Dowager) นางเยโฮนาลาได้พระนามว่า ""ซูสีแปลว่า พระมารดาแห่งความเจริญรุ่งเรือง""

คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระนามาภิไธยสมเด็จพระจักรพรรดิได้ประกาศเฉลิมพระนามาภิไธยของพระชายาทั้งสอง
โดยสมเด็จพระจักรพรรดินีเจินในพระชนมายุยี่สิบเจ็ดพรรษาเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีฉืออัน พระพันปีหลวง (จีน. 慈安皇太后; พินยิน. Cí’ān Tàihòu; จีนกลาง. ฉืออันไท้โฮ้ว; รู้จักในไทย. ซูอันไทเฮา)

ฉืออันไทเฮา
และซูสีไทเฮาในตำแหน่งพระอัครชายา พระชันษายี่สิบห้าชันษา เป็น สมเด็จพระจักรพรรดินีฉือสี พระพันปีหลวง (จีน. 慈禧太后; พินยิน. Cíxǐ Tàihòu; จีนกลาง. ฉือสีไท้โฮ้ว)


ซูสีไทเฮา

ว่าราชการหลังม่าน จนถึงปี 1873 ที่ฮ่องเต้เติบโตขึ้นจนสามารถว่าราชการเองได้  ที่โดยฮ่องเต้ถงจื้อเป็นคนเสเพลและโปรดการเที่ยวซ่องโสเภณี  และว่ากันว่าพระองค์สวรรคตด้วยโรคซิฟิลิต  เมื่อปี2418 (1875)

ฮ่องเต้ถงจื้อ

ซูสีไทเฮาฝ่าฝืนกฎการสืบสันตติวงศ์โดยนำหลายชาย ( ลูกน้องสาว) นามกวางซวี หรือ กวางสู อายุเพียง 3 ขวบ

 ขึ้นมาเป็นจักรพรรดิองค์ต่อไป

 ฮองเฮาทั้ง 2 พระองค์ก็ยังคงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระจักรพรรดิเช่นเดิม จนเมื่อฉืออันไทเฮาสิ้นพระชนม์ในค.ศ. 1881 ( ในหนังว่าพระนางซูสี เป็นผู้วางยา ) ซูสีไทเฮาจึงได้ขึ้นมีอำนาจเต็มเหนือแผ่นดินจีน 

  
ฮ่องเต้กวางสู
เมื่อฮ่องเต้กวางสู  ถึงพระชนมายุที่สามารถขึ้นมีพระราชอำนาจได้ พระนางก็วางมือจากการบริหารราชสำนัก ถึงกระนั้นก็ยังส่งสายลับของพระนางเข้าไปเป็นเครือข่ายในราชสำนักอยู่ดี  ฮ่องเต้กวางสู ซึ่งเป็นฮ่องเต้หุ่นเชิดของพระนางซูสีไทเฮา ฮ่องเต้กวางสูเมื่อเติบใหญ่  พยายามจะปฏิรูปราชการให้ทันสมัย  ( การปฏิรูป 100 วัน )  แต่ไปกระทบกับอำนาจของขุนนางเก่า  ทำให้ พวกขุนนางไปเข้ากับฝ่ายของซูสีไทเฮา ซึ่งอนุรักษ์นิยม การแข็งกร้าวเพื่อต่อต้านอำนาจของซูสีไทเฮา แต่ล้มเหลวในที่สุด  ฮ่องเต้ กวางสูถูกจองจำในตำหนักฤดูร้อน  และพวกปฏิรูปถูกจับ ประหารถึง 6 คน

ในปีต่อมา ซูสีไทเฮาได้หนุนหลังกลุ่มจลาจลหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มที่ต่อต้านการปฏิรูปและต่อต้านชาวต่างชาติ ต่อมา กองกำลังทหารต่างชาติได้บุกเข้าพระราชวังต้องห้ามและยึดกรุงปักกิ่งไว้ได้ ทำให้ซูสีไทเฮาต้องยอมรับข้อตกลงสงบศึก


หากใครได้ไปชมพระราชวังฤดูร้อนของซูสีไทเฮาที่ประเทศจีน  ก็จะได้ชมห้องขังฮ่องเต้ กวางสูด้วย




ว่ากันว่า ต่อมา พระนางก็วางยาปลงพระชนม์ฮ่องเต้กวางสู ก่อนที่พระนางจะเสียชีวิตได้ไม่นานนัก

อย่างไรก็ตามนักประวัติศาสตร์พิจารณาแล้วว่าพระนางทรงตัดสินพระทัยอย่างดีที่สุดแล้วที่จะจัดการกับภาวะยากลำบากต่างๆ ในยุคนั้น แต่ด้วยความคิดอนุรักษ์นิยมของพระนางและชาติตะวันตกที่เข้ามามีอิทธิพลเหนือแผ่นดินจีนมากเรื่อยๆ ทำให้ราชสำนักและประเทศจีนในครั้งนั้นด้อยเรื่องเทคโนโลยีจนถูกต่างชาติครอบงำในที่สุด

แม้ว่าเราจะค่อนข้างชินกับบทบาทของพระนางในภาพยนตร์ที่มักจะกำจัดผู้ที่ไม่เห็นด้วยอย่างเด็ดขาด และโหดเหี้ยม  แต่ในด้านดีของพระนางก็ยังพอมีอยู่บ้าง
  
 มีผู้กล่าวไว้ว่า พระราชอำนาจของพระนางซูสีไทเฮามีเทียบเท่ากับสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรียในสมัยเดียวกัน อย่างไรก็ตาม นอกจากด้านการเมืองแล้ว พระนางทรงสร้างคุณประโยชน์ให้เป็นที่จดจำ
 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านศิลปวัฒนธรรม ที่นางเป็นผู้อุปถัมภ์ค้ำชูงิ้ว ถึงขนาดในพระราชวังของนางมีโรงงิ้วที่ดี และกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในปัจจุบัน รวมทั้งในสมัยของซูสีไทเฮา นางยังได้ก่อตั้งสวนสัตว์วิทยาปักกิ่งในปี 1906 ซึ่งต่อมาสวนสัตว์วิทยาแห่งนี้ กลายเป็นสถาบันแรกที่ได้ทำการขยายพันธุ์หมีแพนด้าสำเร็จ

พระนางนำตัว ปูยีเข้าวัง เพื่อครองราชย์เป็นฮ่องเต้องค์ต่อมา นาม ซวนถง

ฮ่องเต้ซวนถง (ปูยี)

ฮ่องเต้ซวนถงครองราชย์ได้ไม่นาน ซูสีไทเฮาก็สิ้นพระชนม์ลงในวันที่ 15 พฤศจิกายน
 1908     รวมพระชนพรรษา  73 ปี


พระนางซูสีไทเฮา สามารถก้าวจากสามัญชน สู่การปกครองจีนหลังม่านมาถึง 3  ฮ่องเต้  ฮ่องเต้ถงจื้อ, ฮ่องเต้กวงสู และฮ่องเต้ซวนถง(ปูยี) นับว่าพระนางเป็นสตรีที่ทรงอิทธิพลสูงสุดของประเทศจีนมาอย่างยาวนาน ( 1861-1908 )   ในยุคสมัยของพระนาง ต้องต่อสู้กับการรุกรานของชาติตะวันตก  และเกิดสงครามฝิ่น  และการกบฏ  กลุ่มต่อต้านมากมาย  
นับว่ายากลำบากอย่างยิ่ง  

และนี่คือประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของสตรีจีน ที่สามารถขึ้นได้ถึงจุดสูงสุดของการเมืองแดนมังกร  และเธอคือ หงษ์เหนือมังกร จริง ๆ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น